รีเซต

บทละครโทรทัศน์ หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ตอนที่ 10

บทละครโทรทัศน์ หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ตอนที่ 10
Entertainment Report_1
17 เมษายน 2561 ( 11:15 )
9M
1
หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ตอนที่ 10
18 หน้า

หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ตอนที่ 10

บทประพันธ์ วรรณวรรธน์ / บทโทรทัศน์ เอกลิขิต

ตอนสาย บนเรือนพระยาพลเทพ พระยาพลเทพเดินนำพระยาตาก และหลวงพิชัยขึ้นเรือนมา โดยมีขุนแผลงฤทธิ์ยืนรออยู่บนเรือน พระยาพลเทพปั้นยิ้ม

“เชิญเลยท่านเจ้าคุณ ถือเสียว่าเป็นเรือนของท่านเจ้าคุณเองก็แล้วกัน  ฉันได้ยินชื่อเสียงท่านเจ้าคุณมานานแล้ว เพิ่งจะมีโอกาสได้เจอตัวจริงวันนี้เอง”

พระยาตากยิ้มมารยาท “ชื่อเสียงที่พระเดชพระคุณได้ยินมา เกรงว่าจะเกินจริงไปเสียมาก  เพราะกระผมเพียงแต่ทำความชอบเล็กๆน้อยๆเท่านั้นเองขอรับ” พระยาพลเทพเดินนำพระยาตากมานั่งที่หอนั่ง

ขุนแผลงฤทธิ์จ้องหลวงพิชัยเขม็ง ยังเจ็บใจเรื่องที่แพ้ยับเยินคราวก่อนอยู่ ขุนแผลงฤทธิ์จำได้แต่หลวงพิชัยจำไม่ได้ เพราะตอนสู้กันขุนแผลงฤทธิ์โพกผ้าปิดบังหน้าตา หลวงพิชัยมองขุนแผลงฤทธิ์อย่างงงๆ

“มีกระไรหรือขอรับท่านขุน” ขุนแผลงฤทธิ์จ้องเขม็ง แต่ไม่พูด  เดินไปนั่งใกล้ๆพระยาพลเทพ หลวงพิชัยมองอย่างงงๆ ก่อนจะเดินไปนั่งกับพระยาตาก “พระคุณให้กระผมมาหา มีกระไรให้รับใช้หรือขอรับ”

พระยาพลเทพปั้นยิ้มเป็นพิธี “อย่าเรียกว่ารับใช้เลย เรียกว่าเตือนจะเหมาะกว่า ด้วยฉันรู้มาว่าท่านเจ้าคุณ รับอ้ายเสือหาญมาเป็นทหารอาสาไม่ใช่รึ”

“หมายถึงพันหาญศึกอาสาน่ะหรือขอรับ”

“ใช่  อ้ายนั่นล่ะ ก่อนที่จะมาเป็นทหารอาสามันเคยเป็นโจรร้ายมาก่อน ทั้งปล้นฆ่า ข่มขืนกระทำชำเรา คนชั่วช้าเช่นนี้ ท่านเจ้าคุณเลี้ยงไว้ได้อย่างไร” พระยาพลเทพปั้นหน้าเป็นห่วง “ไม่ต่างจากเลี้ยงงูเห่าเอาไว้ข้างกายเลย”

พระยาตากยิ้มเล็กน้อย  รู้ทัน “เป็นพระคุณเหลือเกินขอรับที่พระคุณตักเตือนกระผม  แต่ก่อนจะรับมา กระผมทราบมาว่าพันหาญผู้นี้เคยเป็นลูกน้องเก่าเสือขุนทองมาก่อน  แลเสือขุนทองก็มีชื่อเสียงว่าปล้นแต่คนฉ้อฉลคดโกง แต่ไม่เคยทำร้ายคนอ่อนแอกว่า แลยังกตัญญูต่อบ้านเมือง คราศึกพระเจ้าอลองพญา ก็อาสาออกศึกจนตัวตาย พันหาญผู้นี้ เท่าที่ดูก็มีน้ำใจไม่ผิดลูกพี่นัก กระผมจึงเลี้ยงไว้ขอรับ”

พระยาพลเทพหน้าบึ้งตึงไม่พอใจทันที ที่พระยาตากปฏิเสธกลายๆ  แม้จะพูดอย่างสุภาพก็ตาม ขุนแผลงฤทธิ์หน้าบึ้งตึงไม่พอใจ “ที่พระเดชพระคุณเตือนท่านเจ้าคุณ ก็เพราะมีใจเมตตา แต่ท่านเจ้าคุณพูดเช่นนี้ เหมือนไม่ไยดีในน้ำใจเลยนะขอรับ”

หลวงพิชัยยิ้มแย้ม “พุทโธ่ท่านขุน  หากคำว่า “ไยดีในน้ำใจ” ของท่านขุน หมายถึงต้องทำตามที่สั่ง โดยชี้แจง


18 หน้า